วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นกหลิ่ว สาโท,อุ คุณภาพรสชาติสากล (ของแท้)

นกหลิ่ว  อุ , สาโท คุณภาพรสชาติถูกใจ
สถานที่ติดต่อผลิตภัณฑ์การเกษตรแปรรูป   
นางบังอร  กองทิพย์
 บ้านเลขที่ 31 หมู่ 1 ต.ไผ่หลิ่ว
อ.ดอนพุด จ.สระบุรี 18210 โทร.036-385222
ระยะเวลาในการดำเนินการมาแล้วกว่า  15  ปี
                                        

นกหลิ่ว : นกหลิ่ว คือ ?



นกหลิ่ว


          ความเป็นมาของตราสัญลักษณ์ “นกหลิ่ว” มาจากชื่อของหมู่บ้านไผ่หลิ่ว อันเป็นที่ตั้งของภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งบรรพบุรุษของหมู่บ้านนี้อพยพจากเวียงจันทร์มาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นี้ เมื่อประมาณหนึ่งร้อยกว่าปีมาแล้ว
           โดยแรกเริ่มที่เข้ามาอยู่ มีกอไผ่อยู่กอหนึ่งในหมู่บ้านมีต้นไผ่ต้นหนึ่งสูงเด่นอยู่ ทุกเช้าจะมีนกเขาตัวหนึ่งมาเกาะที่กิ่งไผ่ต้นนี้โดยจะส่งเสียงขันไพเราะมาก ชาวบ้านจึงเรียกนกตัวนี้ว่า  “หลิ่วตัน” ซึ่งต่อมาก็ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “ไผ่หลิ่ว” เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน และเพื่อระลึกถึงตำนานนกเขาตัวนี้กับต้นไผ่สืบไป ชั่วลูกหลาน 
            ซึ่ง อุ , สาโท  รวมทั้ง สุรากลั่น ก็เป็นภูมิปัญญาของคนในหมู่บ้านแห่งนี้ จึงได้ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า “นกหลิ่ว” ตามประวัติตำนานของหมู่บ้าน
วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นกหลิ่ว : สาโทคือ?


       สาโท หรือ น้ำขาว คือ สุราแช่ประเภทหนึ่ง ทำจากข้าวชนิดต่างๆเป็นเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ชนิดไวน์ข้าว (Rice Wine) ที่ไม่ผ่านกระบวนการกลั่น นิยมผลิตด้วยข้าวชนิดต่างๆ ที่ผ่านการหมักด้วยลูกแป้ง หรือเชื้อราและยีสต์ เพื่อเปลี่ยนแป้งในข้าวให้เป็นแอลกอฮอล์ โดยสาโทที่ผ่านกระบวนการหมักแล้วจะมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี
วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นกหลิ่ว : ประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์



ประวัติความเป็นมา

นกหลิ่ว :   สหกรณ์แปรรูปผลิตผลการเกษตรสระบุรี จำกัด
ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งจากรมส่งเสริมสหกรณ์  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2545 ได้เริ่มต้นมาจากการรวมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ไผ่หลิ่วสามัคคี    เพื่อดำเนินธุรกิจผลิต     และจำหน่าย สุราแช่พื้นเมือง(อุ,สาโท)   ตามนโยบายของรัฐบาล ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน
                   โดยมี  นางบังอร   กองทิพย์  ประธานกลุ่มฯ
เป็นผู้คิดริเริ่มดำเนินการ  โดยมี นางบังอร  เหมือนสมัย เจ้าหน้าที่ เคหกิจ  สำนักงานเกษตรอำเภอดอนพุด ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา
และ การสนับสนุนจากสหกรณ์จังหวัดสระบุรี ซึ่งหลังจากดำเนินการขอจัดตั้งสหกรณ์แปรรูป ฯ สำเร็จ ก็ดำเนินการขออนุญาตผลิต และ จำหน่ายสุราแช่พื้นเมือง ประเภท อุ และ สาโท รวมทั้ง ผลิตสุรากลั่น   และได้รับอนุญาตให้ผลิต และจำหน่ายได้ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป